ads

รับเหมาก่อสร้าง-รับสร้างบ้าน-ต่อเติม-ซ่อมแซม บ้าน อาคารโรงงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและบริเวณใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น-งานปูพื้น-งานตกแต่งภายใน-งานฝ้าเพดาน-งานผนังกั้นห้อง-ระบบงานไฟฟ้า-งานขุดเจาะงาน ปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านใหม่ ต่อเติมอาคารร้านอาหาร,ร้านค้า, ต่อเติมบ้าน, อาคาร, ต่อครัว, ต่อโรงรถ, งานพื้น, งานผนัง, งานฝา, ทาสีอาคาร, ปูกระเบื้อง, งานเหล็ก, ทำรั้ว,กำแพง, โครงหลังคา, ซ่อมหลังคา ระเบียง ผนังรั่ว ซ่อมแซม นึกถึง ทีมงาน เฮียเล็ก ติดต่อ 0930622532

Slider[Style1]

Style2

Style3[OneLeft]

Style3[OneRight]

Style4

Style5

แมงคาม

1. แมงคาม: อัศวินนักสู้แห่งวสันต์ฤดู
แม่ของผมเป็นนักอนุรักษ์สุดขั้ว เพราะท่านจะพยายามที่จะพึ่งตัวเองในทุกวิถีทาง เสื้อผ้าท่านก็จะไม่ซื้อ ทอเอง ต่อหูกเอง ย้ำผ้าเองด้วยคาม ซึ่งได้มาจากต้นคาม เมื่อผมเป็นเด็ก นั้น ที่ตากล้าบ้าน ก็มีการปลูกคาม เอามาแช่เพื่อจะได้สีคราม เมื่อแช่เสร็จแล้วก็ทิ้งกองสุมกันไว้ กองต้นครามนั้น ก็จะออกเห็ด นำมาเป็นอาหารได้ แมงคามนี้ ได้ชื่อมาจากต้นคราม มันชอบอาศัยอยู่ตามต้น

ครา แต่ตอนที่ผมจับมันมาเล่นนั้น ผมได้จากต้น “สะแก” ที่อยู่โพนนาตากล้าบ้าน และเมื่อไปขุด “ไส้เดือน” เพื่อจะทำไปใส่เบ็ด ก็จะพบตัวอ่อนของแมงคามด้วย เรียกว่า “แมงบ้งโก่” ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าเมื่อมันโตเต็มที่มันก็จะเป็นแมงคาม แต่เมื่อขุดเจอตอนที่มันกำลังจะเป็นแมงคาม จึงได้รู้ว่า แมงบั้งโก่ เมื่อโตขึ้นมาเป็นแมงคาม
แมงคามนี้ ได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า อัศวินนักสู้แห่งวสันต์ฤดู คนภาคอื่นจะเรียกว่า “ด้วงกว่าง” หรือ แมงกว่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xylotrupes Gideon Linneaus อันดับ Coleoptera ชื่อวงศ์ Scarabaeidia ชื่อสามัญ Scarab beetle
ลักษณะทางกายภาพ แมงคาม หรือด้วงกว่างเป็น แมลงปีกแข็ง ตัวค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายด้วงแรดมะพร้าว ลำตัวแข็ง และนูน สีดำเป็นมัน รูปร่างรูปไข่ ขามีปล้องเล็ก ๆ 5 ปล้อง หนวดเป็นแบบแผ่นใบไม้ มี 3-4 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีลักษณะคล้ายใบไม้ 3-4 แผ่น รวม กันกลายเป็นลูกกลม จำนวนปล้องหนวดมีทั้งหมด 8–11 ปล้อง และตามผิวมีส่วนที่เป็นหนามใหญ่ ตัวผู้มีเขาใหญ่ยื่นตรงออกมาจากหัว ใช้สำหรับต่อสู้ศัตรู เมื่อพบศัต ซึ่งมักเป็นแมงคามตัวผู้ด้วยกัน ก็จะเดินเข้าหากันใช้เขาดันกันไปมา ตัวไหนสู้ไม่ได้ก็ถอยไป ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ตัวอ่อน หรือตัวหนอน สีขาวตัวอ้วน ตัวงอเป็นรูปเหมือนตาขอ

2.แมงคาม: แหล่งที่พบ แมงคามตอนเป็นด้วงหรือตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในดิน กินมูลของซากพืชหรือซากสัตว์ โดยเฉพาะอยู่รอบ ๆ กองฟาง ซึ่งมีไส้เดือน เมื่อเราไปขุดไส้เดือน เราก็จะได้พบตัวอ่อนของแมงคาม ซึ่งผมเรียกว่า “แมงบ้งโก่” เคยนำไปใส่เบ็ดพร้อม ๆ กับไส้เดือนด้วย ปลาเข็ง(ปลาหมอ)
ชอบกินเหยี่อจากตัวอ่อนของแมงคามนี้ ในระยะแรกนั้น มันจะอาศัยอยู่ตามเศษซากพืชทับถมในบริเวณที่ร่มที่มีความชื้นสูง ระยะถัดมาขุดดินฝังตัวอยู่ลึกประมาณ 7.5–15.0 เซนติเมตร ระยะหนอนด้วงใช้เวลาประมาณ 58–95 วันมี 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าดักแด้ 3–6 วัน แล้วจึงลอกคราบเปลี่ยนเป็นดักแด้ ซึ่งในระยะนี้ใช้เวลา 11–14 วัน ต่อมาก็ออกเป็นตัวเต็มวัย ออกหากินในเวลาตั้งพลบค่ำเป็นต้นไป และพบมากในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันก็หลบซ่อนตัวอยู่ในดินมากกว่าที่อื่น ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียประมาณ 18 และ 28 วันตามลำดับ มักอยู่ตามต้นคาม (ต้นคราม) ต้นถ่อน และต้นไม้หลายชนิด ในป่าเบญจพรรณ ที่ผมจับมาเล่นตอนเป็นเด็กนั้น จะอยู่ที่ต้นสะแก
ที่มาของชื่อ “แมงคาม” คงเนื่องมาจากพบมาก ตาม “ต้นคาม” หรือ ต้นคราม ที่ คนอีสานสมัยเก่า ปลูกเป็นสวน หรือ พื้นที่ว่างเปล่าปลูกไว้เพื่อ นำมาหมัก “คาม” (ออกเสียงสำเนียงอีสาน ) หมักในหม้อดิน เมื่อได้ที่ก็ นำมาย้อมผ้า ซึ่งสมัยนั้น คือ ผ้าฝ้าย ที่ทอด้วยมือนั่นเอง เพื่อให้ผ้ามีสีสัน และคงทน แมลงชนิดนี้ จึงได้ชื่อตาม ต้นคาม ต้นไม้ที่มันโปรดปรานของมัน นั่นเอง

About เฮียเล็ก

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


Top