แมงขี้สูด แมงน้อย หรือชันโรง
ชันโรงไม่ค่อยมีนิสัยชอบเลือก (floral preference) ชันโรงจะเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อย ไม่จู้จี้จองหองอย่างผึ้งพันธุ์ ซึ่งจะเลือกตอมเฉพาะดอกที่มันชอบ และต้องมีดอกมาก ๆ จึงจะลงตอม เราจึงสามารถใช้ชันโรงช่วยผสมเกสรพืชเป้าหมายได้หลายชนิด และแม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกจะมีขนาดเล็กเพียงใดก็ไม่มีปัญหาว่าชันโรงจะไม่ลง ตอม
ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรประจำถิ่นจึงใช้ผสมเกสรพืชพื้นเมือง หรือพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเซียได้ดี เช่น ทุเรียน ข้อมูลจากการทดลองระบุว่า ในบรรดาแมลงผสมเกสรต่าง ๆ ที่ลงตอมดอกทุเรียนจะเป็นชันโรงถึงร้อยละ 80
4. ชันโรงเป็นแมลงที่ชอบเก็บเกสร มีพฤติกรรมการตอมดอกที่ละเอียดนุ่มนวล จึงทำหน้าที่ผสมเกสรได้อย่างดี ต่างจากผึ้ง บางชนิด ที่เลือกดูดแต่น้ำต้อย ไม่สนใจเกสร จึงไม่เกิดการถ่ายละอองเกสรตามที่ต้องการ
5. ชันโรงไม่มีนิสัยรังเกียจของเก่า หรือของใช้แล้วมันจะตอมดอกไม้ได้ทุกดอก แม้ว่าดอกนั้นจะเคยถูกแมลงผสมเกสรตัวอื่นตอมมาแล้ว และทิ้งกลิ่นไว้ก็ตาม ในขณะที่ผึ้งรวงจะไม่ตอมดอกที่มีกลิ่นซึ่งผึ้งชนิดอื่นหรือรังอื่นทิ้งไว้
6. ชันโรงมีอายุยืนกว่าผึ้งรวงมาก ทำให้มีโอกาสผสมเกสรได้นาน
ศัตรูของชันโรง เนื่องจากชันโรงมีลำตัวขนาดเล็กและลักษณะการบินไม่เป็นแนวตรงหรือโค้ง การบินของชันโรงจะเป็นแบบหักมุมซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ทำให้หลบศัตรูได้ง่าย ยากแก่การจับกินขอบแมลงและนกต่าง ๆ ภายในรังของชันโรงจะเก็บยางไม้ไว้สำหรับป้องกันศัตรู เรื่องของศัตรูจึง ไม่ค่อยมี แต่ที่พบก็มีได้แก่ นก โดยเฉพาะนกที่กินแมลง จะไปจับเกาะบริเวณดอกไม้ที่ชันโรงตอมอยู่ ทำให้ง่ายต่อการจับกิน มด เป็นมดที่ชอบกินน้ำหวาน จะรบกวนในระยะที่มีการแยกขยายรังใหม่ ๆ โดยจะเข้าไปกินน้ำหวานภายในรัง ทำให้ชันโรงทิ้งรังหนีไป
ชันโรงบางชนิดมดก็ไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะจะสร้างยางเหนียวไว้เป็นเกาะป้องกันรัง มวนเป็นศัตรูใช้ปากเจาะแทงดูดน้ำเลี้ยงของชันโรง โดยจะไปจับชันโรงที่ใกล้ ๆ รัง ถ้าหากมีมากจะทำให้ประชากรชันโรง ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจนมวนจะชอบ
ชันโรง - จังหวัดขอนแก่น
www.aopdb05.doae.go.th/channarong.html
ขอบคุณข้อมูล จาก กลุ่มเรารักมุกดาหาร และอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น: